ช่วงนี้มีข่าวโควิดระบาดระรอก 3 เกิดขึ้น ซึ่งการระบาดของโรคโควิดในครั้งนี้เป็นโควิดสายพันธุ์อังกฤษซะส่วนใหญ่ แล้วโควิดสายพันธุ์อังกฤษต่างจากโควิดสายพันธุ์ปกติอย่างไร medtua.com จะขออธิบายข้อควรรู้ของโควิดสายพันธุ์อังกฤษให้ทราบดังต่อไปนี้ “โควิด-19 สายพันธุ์อังกฤษ” ได้ยินกันมาสักพักเพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในประเทศอังกฤษ ก่อนที่จะแพร่กระจายไปยังประเทศต่าง ๆ จนล่าสุด มาถึงประเทศไทย และส่งผลให้เกิดการระบาดรอบใหม่ จากรณีคลัสเตอร์สถานบันเทิง (ย่านทองหล่อ) เป็นที่แน่ชัดแล้วว่าเป็น โควิด-19 สายพันธุ์อังกฤษ ที่มีเชื้อรุนแรงและแพร่ระบาดได้รวดเร็วกว่า เรามาทำความรู้จัก 10 เรื่องต้องรู้ของ โควิดกลายพันธุ์สายพันธุ์อังกฤษกันอีกครั้ง
10 เรื่องต้องรู้ของ โควิดกลายพันธุ์โควิดสายพันธุ์อังกฤษ
-
-
-
-
- โควิด-19 สายพันธุ์อังกฤษ : ระบาดได้รวดเร็วขึ้น กว่าสายพันธุ์ปกติ 1.7 เท่า
- โควิด-19 สายพันธุ์อังกฤษ : ตำแหน่งที่กลายพันธุ์เป็นตำแหน่งพิเศษอยู่บนผิวไวรัส ทำให้ไวรัสมีคุณสมบัติจับผิวเซลล์มนุษย์ได้ดีขึ้น ง่ายขึ้น เป็นการเปลี่ยนแปลงในส่วนของ “โปรตีนหนาม” (spike protein) ของเชื้อไวรัส เรียกว่าการกลายพันธุ์ N501Y ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงในส่วนสำคัญส่วนใหญ่ของหนามที่เรียกว่า “ส่วนยึดจับกับตัวรับบนผิวเซลล์” (receptor-binding domain) ซึ่งเป็นส่วนแรกที่หนามของไวรัสจะสัมผัสกับพื้นผิวเซลล์ในร่างกายคนเรา และเป็นหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 17 ประการในเชื้อโควิด-19 พันธุ์กลาย VUI-202012/01
- โควิด-19 สายพันธุ์อังกฤษ : สายพันธุ์อังกฤษที่กลายพันธุ์ มีชื่อว่า B.1.1.7 พบครั้งแรกในประเทศอังกฤษ เมื่อเดือนกันยายน 2563
- โควิด-19 สายพันธุ์อังกฤษ : เดือนพฤศจิกายน 2563 พบว่าราว 1 ใน 4 ของการติดเชื้อในกรุงลอนดอน เป็นเชื้อกลายพันธุ์ชนิดใหม่ แต่สัดส่วนดังกล่าวเพิ่มเป็นเกือบ 2 ใน 3 ของการติดเชื้อที่พบในช่วงกลางเดือนธันวาคม
- โควิด-19 สายพันธุ์อังกฤษ : หลายประเทศพบผู้ป่วยโควิด-19 สายพันธุ์อังกฤษนี้ เช่น เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ สเปน สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี ออสเตรเลีย อิตาลี ฝรั่งเศส ฟินแลนด์ สวีเดน เยอรมนี แคนาดา เลบานอน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย และสิงคโปร์ เป็นต้น
- โควิด-19 สายพันธุ์อังกฤษ : ประเทศไทย ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า พบครั้งแรกจาก ครอบครัวชาวอังกฤษ 4 คน เมื่อช่วงเดือนมกราคม 2564 เดินทางเข้าประเทศไทย และอยู่ในสถานกักตัวทางเลือก โดยทางโรงพยาบาลเอกชน และศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการควบคุมอย่างดีไม่ให้เชื้อแพร่กระจายออกไป
- โควิด-19 สายพันธุ์อังกฤษ : ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า คลัสเตอร์สถานบันเทิงย่านทองหล่อ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการแพร่ระบาดสายพันธุ์อังกฤษ “มีต้นตอมาจากไหน”
- โควิด-19 สายพันธุ์อังกฤษ : ปัจจัย 3 อย่าง ที่ทำให้ต้องจับตามองไวรัสชนิดนี้อย่างใกล้ชิด คือ 1.แพร่ระบาดแทนที่เชื้อโรคโควิด-19 อีกชนิดอย่างรวดเร็ว
- โควิด-19 สายพันธุ์อังกฤษ : 2.เกิดการกลายพันธุ์ที่น่าจะส่งผลสำคัญต่อเชื้อไวรัสชนิดนี้
- โควิด-19 สายพันธุ์อังกฤษ : 3.การกลายพันธุ์บางอย่างได้แสดงให้เห็นในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ (ห้องแล็บ) แล้วว่า ทำให้เชื้อชนิดใหม่นี้มีความสามารถทำให้เซลล์ติดเชื้อได้มากขึ้น
“นพ.ยง” สงสัยโควิดสายพันธุ์อังกฤษระบาดในประเทศไทยได้อย่างไร บอกต่อจากนี้สายพันธุ์นี้จะอยู่ประจำถิ่นเราแล้ว และจะแพร่กระจายโรคได้ง่ายขึ้น การจะทำให้สายพันธุ์นี้หมดไปคงจะเป็นการยาก
เมื่อวันที่ 8 เม.ย. 64 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ระบุว่า โควิด-19 สายพันธุ์อังกฤษ ในที่สุดก็ระบาดในประเทศไทย
ไม่ได้คาดคิดมาก่อน ว่าจะพบการระบาดของโควิดสายพันธุ์อังกฤษในประเทศไทย ทั้งที่ยังไม่มีการเปิดประเทศ ผู้เดินทางจากต่างประเทศจะต้องมีการกักกันถึง 14 วัน และมีมาตรการในการตรวจถึง 2 ครั้ง เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของสายพันธุ์ที่มาจากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นโควิดสายพันธุ์อังกฤษ แอฟริกาใต้ และบราซิล ในอนาคตจะมีสายพันธุ์อื่น ๆ อีก และถ้ามีการระบาดมากในประเทศ ก็อาจจะเกิดสายพันธุ์ใหม่ในประเทศเกิดขึ้นได้
โควิดสายพันธุ์อังกฤษเข้ามาระบาดในประเทศไทยได้อย่างไร เป็นสิ่งที่ทุกคนตั้งคำถาม แต่คำตอบก็คือว่า ต่อจากนี้สายพันธุ์นี้จะอยู่ประจำถิ่นเราแล้ว และจะแพร่กระจายโรคได้ง่ายขึ้น การจะทำให้สายพันธุ์นี้หมดไปคงจะเป็นการยาก
สิ่งสำคัญต่อไปคือการเฝ้าระวัง สายพันธุ์ใหม่ ๆ โดยเฉพาะสายพันธุ์ที่จะมีผลต่อวัคซีนที่ใช้ในประเทศไทย หรือทำให้โรครุนแรงขึ้น
การสุ่มตรวจในแต่ละคลัสเตอร์ แต่ละช่วงเวลา มีความจำเป็นอย่างยิ่ง การลงทุนในการตรวจ ถึงแม้ว่าจะมีค่าใช้จ่ายมากกว่าการตรวจวินิจฉัยปกติมาก
ทั่วโลกมีการเฝ้าระวังและมีการถอดรหัสพันธุกรรม เป็นจำนวนหลายๆ แสน ประเทศไทยก็ได้มีการดำเนินการ แต่ภาพรวมยังไม่มาก แต่ก็ดีกว่าประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ เพราะเราก็ต้องการอยากรู้ว่า เป็นอย่างไร
ขอบคุณข้อมูลจาก
pptvhd36.com
bangkokbiznews.com
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ
www.freepik.com -
-
-