14 กุมภาพันธ์ วันวาเลนไทน์ (Valentine’s Day) หรือวันแห่งความรัก ที่ใคร ๆ ก็รู้จักไม่แม้แต่แค่ศาสนาคริสต์ ทุกศาสนาก็รู้จักและให้ความสำคัญกับวันวาเลนไทน์นี้เช่นกัน เรามาทำความรู้จักประวิติคร่าว ๆ ของวันวาเลนไทน์ หรือวันแห่งความรัก กันดีกว่า
ประวัติความเป็นมาของวันวาเลนไทน์
วันวาเลนไทน์ นับเป็นวันที่มีความหมายสำคัญและมีคุณค่าที่ยิ่งใหญ่ สืบเนื่องจากในสมัยจักรวรรดิโรมัน มีนักบุญคนหนึ่งชื่อ นักบุญวาเลนไทน์ (Saint Valentine) ซึ่งเป็นผู้เปี่ยมไปด้วยความรักที่มีต่อเพื่อนมนุษย์อย่างแท้จริง โดยทุก ๆ วันเขาได้แอบนำอาหารและของใช้ที่จำเป็นไปวางไว้ที่ประตูบ้านของคนยากจน โดยที่พวกคนเหล่านั้นไม่รู้ ด้วยความรักแบบชาวคริสต์ที่มีต่อเพื่อนมนุษย์นี้เองทำให้เขาต้องจบชีวิตลงด้วยการรับโทษประหารในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 270
เนื่องจากคนในสมัยนั้นยังไม่ยอมรับในศาสนาคริสต์ และใครที่นับถือศาสนาคริสต์จะมีความผิดร้ายแรงมาก ก่อนที่เขาจะถูกประหาร นักบุญ “วาเลนตินัส” ได้ถูกจับและถูกทรมานเพื่อจะบังคับให้เขาเลิกนับถือศาสนาคริสต์ ตอนที่เขาอยู่ในคุกนั้นเอง เขาได้พบรักกับหญิงตาบอดคนหนึ่ง หญิงคนนั้นตาบอดสนิท และเธอคือ ลูกสาวของผู้คุมขังในนั้น
ด้วยความรักและคำอธิษฐานของเขา พระเจ้าได้ทรงโปรดให้ตาของคนรักของเขาได้เห็นเป็นปกติ จากความอัศจรรย์ครั้งนี้เอง ทำให้ผู้คุมขังและคนในครอบครัวได้เชื่อในพระเจ้าทุกคน เรื่องนี้ก็ได้รู้ไปถึงจักรพรรดิคลอดิอุสที่ 2 ของโรม พระองค์ทรงกริ้วมากจึงมีรับสั่งให้ลงโทษเขาด้วยการประหารชีวิตและในคืนก่อนที่จะมีการประหารชีวิตโดยการตัดศีรษะนั้นเอง เขาได้เขียนจดหมายถึงคนรักของเขาว่า from your valentine “จากวาเลนไทน์ของเธอ” วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 270 วาเลนตินัสก็ถูกประหารชีวิตแล้วศพของเขาก็นำไปฝังไว้ที่ เฟลมิเนี่ยนเวย์
ต่อมาเพื่อเป็นการระลึกถึงชีวิตและความรักที่มีต่อเพื่อนมนุษย์อย่างแท้จริงของเขาก็ได้มีการสร้างโบสถ์หลังใหญ่คร่อมบนหลุมฝังศพของเขา เรื่องนี้เป็นเรื่องที่คนทั่วไปประทับใจในความรักอันยิ่งใหญ่ของนักบุญคนนี้ ซึ่งต่อมาภายหลัง จึงได้ยึดถือวันที่ 14กุมภาพันธ์ เป็นวันวาเลนไทน์ หรือวันแห่งความรักนั่นเอง
วันวาเลนไทน์มาข้องเกี่ยวกับรักแบบโรแมนติกเป็นครั้งแรกในแวดวงสังคมของเจฟฟรีย์ ชอเซอร์ สมัยกลางยุครุ่งโรจน์ (High Middle Ages) เมื่อประเพณีรักเทิดทูน (courtly love) เฟื่องฟู จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 วันวาเลนไทน์ได้วิวัฒนา มาเป็นโอกาสซึ่งคู่รักจะแสดงความรักของพวกเขาแก่กันโดยให้ดอกไม้ ขนมหรือลูกกวาด และส่งการ์ดอวยพรกัน
ตำนานของ วันวาเลนไทน์
ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 หรือที่ 6 ผลงานชื่อ Passio Marii et Marthae ได้กุเรื่องราวการพลีชีพเพื่อศาสนาแก่นักบุญวาเลนไทน์แห่งโรม ซึ่งปรากฏว่ามิได้มีพื้นฐานอยู่บนข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ใด ๆ เลย ผลงานนี้อ้างว่า นักบุญวาเลนไทน์ถูกเบียดเบียนเพราะนับถือศาสนาคริสต์ และถูกสอบสวนโดยจักรพรรดิคลอเดียส กอธิคัส เป็นการส่วนตัว วาเลนไทน์จักรพรรดิคลอเดียสประทับใจและได้สนทนากับเขา โดยพยายามให้เขาเปลี่ยนไปนับถือลัทธิเพเกินโรมันเพื่อรักษาชีวิตของเขา
วาเลนไทน์ปฏิเสธและพยายามโน้มน้าวให้จักรพรรดิคลอเดียสหันมานับถือศาสนาคริสต์แทน ด้วยเหตุนี้ เขาจึงถูกประหารชีวิต ก่อนที่เขาจะถูกประหารชีวิตนั้น มีรายงานวาเขาได้แสดงปาฏิหาริย์โดยรักษาลูกสาวตาบอดของผู้คุมของเขา แอสเตอเรียส (Asterius) Passio
สมัยหลังย้ำตำนานนี้ โดยเสริมเรื่องกุว่าสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 1 ได้ทรงสร้างโบสถ์ครอบสุสานของเขา (เป็นความเข้าใจผิดกับผู้พิทักษ์ประชากร ในคริสต์ศตวรรษที่ 4 ชื่อ วาเลนติโน ซึ่งบริจาคที่ดินเพื่อสร้างโบสถ์ในขณะที่จูเลียสเป็นพระสันตะปาปา) ตำนานได้หยิบยกขึ้นเป็นข้อเท็จจริงโดยบันทึกมรณสักขีในภายหลัง เริ่มจากบันทึกมรณสักขีของบีดในคริสต์ศตวรรษที่ 8 และมีย้ำในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ใน ตำนานทอง หนังสือนี้อธิบายคร่าว ๆ ถึงกิจการของนักบุญ (Acta Sanctorum) ต้นสมัยกลางว่ามีนักบุญวาเลนไทน์หลายคน และตำนานนี้จัดเข้ากับวาเลนไทน์ใต้วันที่ 14 กุมภาพันธ์
ดอกไม้ประจำวันวาเลนไทน์
ดอกกุหลาบถือเป็นสัญลักษณ์แทนความรัก ความสวยงาม และความโรแมนติก อีกทั้งยังเชื่อมโยงกับ “วีนัส” หรือเทพเจ้าแห่งความรัก จึงทำให้ผู้คนส่วนใหญ่นิยมมอบดอกกุหลาบให้กับคนรักเพื่อสื่อถึงความในใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันวาเลนไทน์ ทว่าทางที่ดี ต้องใส่ใจเลือกสีอย่างรอบคอบด้วย เพราะดอกกุหลาบแต่ละสีมีความหมายแตกต่างกันมาก ตัวอย่างเช่น
-
ดอกกุหลาบสีแดง
หมายถึง ความรัก ความกล้าหาญ และความโรแมนติก มักใช้แทนคำว่า “ฉันรักคุณ”
-
ดอกกุหลาบสีขาว
หมายถึง ความรัก ความบริสุทธิ์ ความมีเสน่ห์ มักใช้แทนคำว่า “ฉันเป็นของคุณคนเดียว”
-
ดอกกุหลาบสีเหลือง
หมายถึง ความสนุกสนาน สดใส ร่าเริง ความเป็นเพื่อน เป็นมิตร และเปรียบเสมือนการเริ่มต้นใหม่ มักใช้แทนคำว่า “เราเป็นเพื่อนกันหรือเป็นห่วงเสมอ”
-
ดอกกุหลาบสีชมพู
หมายถึง ความสุข ความชื่นชมยินดี และความรู้สึกขอบคุณ มักใช้แทนคำว่า “ขอบคุณนะ”
-
ดอกกุหลาบสีส้ม
หมายถึง ความหลงรัก ความหลงใหล และความต้องการ มักใช้แทนคำว่า “ชีวิตฉันต้องการเธอ”
-
ดอกกุหลาบสีพีช
หมายถึง ความใกล้ชิด ความสนิทสนม และเปรียบเสมือนการเชิญชวนให้มาอยู่ด้วยกัน มาร่วมมือกัน มักใช้แทนคำว่า “มาทำให้วันวาเลนไทน์นี้น่าจดจำกันเถอะ”
-
ดอกกุหลาบสีแดงและสีขาว
หมายถึง ความกลมเกลียว สามัคคี เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มักใช้แทนคำว่า “เราเหมาะสมกันมาก”
ช็อกโกแลต วันวาเลนไทน์
การมอบ ช็อกโกแลต วันวาเลนไทน์ ให้กันนั้น เริ่มมาจากในยุคที่นักบุญวาเลนไทน์ได้เสียชีวิต ช็อกโกแลตนับเป็นของหายากและมีค่ามาก คนที่รักชอบกันจะมอบช็อกโกแลตเพื่อเป็นสื่อแทนใจกันในวันวาเลนไทน์ มักจะส่งไปพร้อมการ์ดและดอกกุหลาบ ซึ่งก็เป็นการสื่อถึงความรักเช่นเดียวกัน อีกนัยหนึ่งคือ ช็อกโกแลตเคยเป็นสัญลักษณ์ของเสรีภาพ มิตรภาพ และสันติภาพ ในครั้งที่สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้สิ้นสุดลง
สรรพคุณของช็อกโกแลตนั้น ยังสามารถทำให้คนทานเกิดอารมณ์ดี และกระตุ้นอารมณ์รักได้อีกด้วย มีเรื่องเล่ามาว่า นายมองเตชูมา นักรบผู้พิชิตแห่งสเปน มักจะดื่มช็อกโกแลตร้อนเป็นประจำเสมอก่อนทำการออกไปเผด็จศึกสาว ๆ ในฮาเร็มของเขานั่นเอง