ประวัติวันขึ้นปีใหม่ 1 มกราคม

ประวัติวันขึ้นปีใหม่ 1 มกราคม วันขึ้นปีใหม่นั้น ตรงกับวันที่ 1 มกราคม ของทุกปี ถือเป็นวันปีใหม่ตามสากล จากแต่เดิมที่วันขึ้นปีใหม่ไทยตรงกับวันแรม 1 ค่ำเดือนอ้าย ก่อนวันขึ้นปีใหม่จะมาเป็นวันที่ 1 มกราคมนี้ มาอ่านประวัติวันขึ้นปีใหม่ไปพร้อมๆ กัน

ประวัติวันขึ้นปีใหม่

ตามบันทึกในอดีตพบว่าชาวบาบิโลน เป็นผู้ใช้ปฏิทินมาแล้วกว่า 4,000 ปี ด้วยการศึกษาดวงจันทร์ เมื่อโลกโคจรรอบดวงจันทร์ครบ 1 ปี จะใช้ระยะเวลาทั้งหมด 12 เดือน แต่อย่างไรก็ดีมีบางปีที่ไม่ตรงกับฤดูกาลที่เปลี่ยนไป

Gregorian calendar

ภายหลังชนชาติอื่นที่คิดค้นการใช้ปฏิทิน ก็กำหนดชื่อเดือนทั้ง 12 และได้ศึกษาระยะเวลาของแต่ละวัน ชาวยุโรปที่เดินทางรอบโลกมักใช้ปฏิทินเกรกอเรียน (Gregorian calendar) เพื่ออ้างอิงวัน เดือน ปี ตามหลักสากล

เมื่อครั้งเกิดลัทธิล่าอาณานิคม ความนิยมนับวัน เดือน ปี แบบยุโรป ก็เข้าสู่วัฒนธรรมของชนชาติต่างๆ ที่เป็นเมืองขึ้น การนับวันขึ้นปีใหม่ของประเทศต่างๆ จึงอ้างอิงตามหลักประเทศสากล เพื่อให้เกิดการจดบันทึกที่ตรงกัน วันขึ้นปีใหม่ หรือวันแรกของปีนั้นจึงมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของทุกชนชาติ

ประวัติวันขึ้นปีใหม่ไทย

ประวัติวันขึ้นปีใหม่ไทย แต่เดิมเราถือเอาวันแรม 1 ค่ำเดือนอ้าย ซึ่งตรงกับเดือนมกราคม เป็นวัน ขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับคติแห่งพระพุทธศาสนา ที่ถือช่วงเหมันต์หรือหน้าหนาวเป็นการเริ่มต้นปี ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงไปตามคติพราหมณ์ คือถือเอาวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งตรงกับวันสงกรานต์ ดังนั้นในสมัยโบราณเราจึงถือเอาวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย แต่การนับวันปีใหม่หรือวันสงกรานต์ตามวันทางจันทรคติ เมื่อเทียบกับวันทางสุริยคติ ย่อมคลาดเคลื่อนกันไปในแต่ละปี ดังนั้นในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปี พ.ศ.2432 (ร.ศ.108) ซึ่งตรงกับวันที่ 1 เมษายน

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงให้ถือเอาวันที่ 1 เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยนับแต่นั้นมา เพื่อวันปีใหม่จะได้ตรงกันทุกปีเมื่อนับทางสุริยคติ (แม้ว่าวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปีต่อๆ มาจะไม่ตรงกับวันที่ 1 เมษายน แล้วก็ตาม) ดังนั้นจึงถือเอาเดือนเมษายนเป็นเดือนแรกของปีนับแต่นั้นมา อย่างไรก็ดีประชาชนส่วน ใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการจึงเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน มักจะไม่มีงานรื่นเริงอะไรมากนักและเห็นสมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นในกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก จนแพร่หลายออกไปต่างจังหวัด

ในปีต่อ ๆ มา โดยในปี พ.ศ. 2479 ก็ได้มีการจัดงานปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด มีชื่อทางราชการ “วันตรุษสงกรานต์” เหตุผลเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จาก 1 เมษายน เป็น 1 มกราคม ต่อมาก็ได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาโดยมี หลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานคณะกรรมการ และที่ประชุมก็ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2484 ในวันที่ 24 ธันวาคม ในสมัยคณะรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม

ฉลองวันขึ้นปีใหม่

โดยเหตุผลสำคัญในการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ก็คือ

    1. เป็นการไม่ขัดกับหลักพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ
    2. เป็นการเลิกวิธีน่าเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมศาสนาพุทธ
    3. ท่าให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก
    4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย

ตั้งแต่นั้นมา วันขึ้นปีใหม่ของไทยจึงตรงกับวันที่ 1 มกราคมของทุกปี เหมือนดังเช่นวันขึ้นปีใหม่ของ ประเทศอื่นๆ ทั่วโลกนั่นเอง

ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.thairath.co.th/lifestyle/culture/2589263
https://www.parliament.go.th/intro_special_day/images/newyear2013/newyear.pdf
https://www.freepik.com/

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *