ทำไมต้องไหว้ราหูแล้วไหว้ราหูอย่างไร หลายคนมักมีความสงสัยว่าการไหว้ราหูนั้นทำเพื่ออะไร แล้วทำไมเราต้องไหว้ราหู บทความนี้เราจะมาไขข้อข้องใจของการไหว้ราหู พร้อมทั้งบอกวิธีการไหว้ราหูให้นำไปทำตามได้ด้วย
ราหูเป็นดาวเคราะห์ที่ปกติจะย้ายในทุก ๆ 1 ปีครึ่ง และมีความเชื่อกันว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่ราหูย้าย จะส่งผลต่อดวงชะตาของผู้คนทั้ง 12 ราศี ซึ่งการไหว้ราหูโดยความเชื่อมักจะทำให้เกิดโชคลาภ และความสำเร็จ ซึ่งมีโอกาสร่ำรวยด้วยการบูชาพระราหู
ซึ่งการบูชาพระราหูจะนำความสำเร็จและโชคอย่างดีที่สุด หรือในทางกลับกันจะทำให้ชีวิตพบเจอแต่ความวุ่นวาย เคราะห์ซ้ำกรรมซัด ลุ่มหลง มัวเมาไปกับสิ่งไม่ดีต่าง ๆ เอาล่ะ มาดูวิธีการบูชาพระราหูเพื่อเสริมดวงหรือแก้ดวงตกมาฝากผู้อ่าน เพื่อนเตรียมตัวให้พร้อมกับการไหว้ราหูในแต่ละปีกัน
ของไหว้ราหู
ก่อนอื่นต้องเตรียมของไหว้ราหูก่อน ซึ่งต้องทำความเข้าใจเรื่องจำนวนของไหว้ราหู เนื่องจากราหูมีเลข 8 เป็นสัญลักษณ์ และมีกำลังเท่ากับ 12 ดังนั้นเราควรจัดของไหว้ราหู จำนวน 8 หรือ 12 อย่าง ขึ้นอยู่กับความศรัทธา และควรเป็นของไหว้ที่เป็นสีดำ ตัวอย่างของไหว้ราหูหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้
- ของไหว้ราหู ที่เป็นของคาว
- ไก่ดำต้ม
- ปลาดุกย่าง
- ไข่เยี่ยวม้า
- ของไหว้ราหู ที่เป็นของหวาน หรือขนม
- เฉาก๊วย
- ข้าวเหนียวดำ
- สาหร่ายดำ
- ของไหว้ราหู ที่เป็นเครื่องดื่ม
- กาแฟดำ
- น้ำโค้ก
- กาแฟดำ
- ธูปสำหรับไหว้ราหู 8 ดอก
ขั้นตอนการไหว้ราหู
ขั้นตอนการไหว้ราหูนั้นต้องหันหน้าผู้ไหวไปทาง “ตะวันตกเฉียงเหนือ” เวลาไหว้ราหูคือเวลา 23.05 นาที เป็นต้นไป
การไหว้ราหู ขั้นตอนที่ 1
เริ่มด้วยการท่อง นะโมฯ 3จบ
การไหว้ราหู ขั้นตอนที่ 2 สวดบทบูชาพระราหู
กินนุ สันตะระมาโน วะราหุ สุริยัง
ปะมุญจะสิสังวิคคะรูโป อาคัมมะกินนุ
ภีโต วะ ติฏฐะสีติ สัตตะธา เม ผะเล
มุทธา ชีวันโต นะ สุขัง ละเภ
พุทธะคาถาภิคีโตมหิ โน เจ
มุญเจยยะ สุริยันติกินนุ สันตะระมาโน
วะราหุ จันทัง ปะมุญจะสิ สังวิคคะรูโป
อาคัมมะ กินนุ ภีโต วะ
ติฏฐะสีติสัตตะธา เม ผะเล
มุทธา ชีวันโต นะ สุขัง ละเภ
พุทธะคาถาภิคีโตมหิ โน เจ
มุญเจยยะ จันทิมันติ
การไหว้ราหู ขั้นตอนที่ 3 พระคาถาสุริยะบัพพา
กุสเสโตมะมะ กุสเสโตโต
ลาลามะมะโตลาโม โทลาโมมะมะ
โทลาโมมะมะโทลาโมตัง
เหกุติมะมะ เหกุติฯ
การไหว้ราหู ขั้นตอนที่ 4 พระคาถาสุริยะบัพพา
กุสเสโตมะมะ กุสเสโตโต
ลาลามะมะโตลาโม โทลาโมมะมะ
โทลาโมมะมะโทลาโมตัง
เหกุติมะมะ เหกุติฯ
การไหว้ราหู ขั้นตอนที่ 5 คำถวายของบูชาพระราหู
ยัตถะตังมะมะ ตังถะยะ
ตะวะตังมะมะตัง วะติตัง
เสกามะมะกาเสตัง
กาติยังมะมะ ยะติกาฯ
การไหว้ราหู ขั้นตอนที่ 6 คาถาบูชาพระราหู
นะโมเม พระราหูเทวานัง ธูปะทีปะ จะปุปผัง
สักการะวันทะนัง สูปะพะยัญชะนะ
สัมปันนัง โภชะนานัง สาลีนัง
สะปะริวารัง อุทะกังวะรัง อาคัจฉันตุ
ปะริภุญชันตุ สัพพะทา หิตายะ
สุขายะ พระราหูเทวา มะหิทธิกา
เตปิอัมเห อะนุรัก ขันตุ
อาโรคะ เยนะ สุเขนะจะ
การไหว้ราหู ขั้นตอนที่ 7 คาถาลาของไหว้ราหู
เมื่อธูปใกล้หมดให้ลาของไหว้ และสวด “เสสัง มังคะลา ยาจามิ” จากนั้นสามารถนำของไหว้มารับประทานเพื่อความเป็นสิริมงคลได้เลย หรือจะนำไปอาบไปดื่มก็ได้ โดยก่อนรับประทานหรือนำไปดื่มไปอาบให้ท่องคาถา “คะ พุท ปัน ทู ธัม วะ คะ” (ตามแบบฉบับของวัดศีรษะทอง ต้นตำรับการไหว้พระราหู)
ขอบคุณข้อมูลจาก
thairath.co.th/horoscope
sanook.com/horoscope