Hospitel-คืออะไร-ในช่วง-COVID-ระลอกใหม่นี้

Hospitel คืออะไร ในช่วง COVID ระลอกใหม่นี้

Hospitel คืออะไร ทำไมถึงได้ยินคำว่า Hospitel บ่อยๆ ในช่วง COVID-19 ระลอกใหม่นี้ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 มีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องและเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ทำให้คำว่า “Hospitel” ถูกหยิบยกมาพูดถึงอีกครั้ง “Hospitel” หรือ หอผู้ป่วยเฉพาะกิจ COVID-19 เป็นที่พักรูปแบบใหม่ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อลดจำนวนผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ในโรงพยาบาลในช่วงที่มีการระบาดของโรค COVID-19 โดยปรับเปลี่ยนโรงแรมให้เป็นพื้นที่เฝ้าระวังอาการ COVID-19 เพื่อให้ทางโรงพยาบาลสามารถรองรับผู้ป่วยหนักได้อย่างเต็มที่

ความมายของคำว่า Hospitel

Hospitel มาจากคำว่า Hopital (โรงพยาบาล) + Hotel (โรงแรม) เพื่อรองรับผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในกรณีที่โรงพยาบาลไม่สามารถรับผู้ป่วยติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่มีจำนวนมากเข้ารับการรักษาพยาบาลได้

แนวคิดนี้จะใช้กับสำหรับผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือมีอาการของ COVID-19 ไม่รุนแรง ซึ่งต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลหลักเป็นเวลาอย่างน้อย 4 -7 วันก่อนจะถูกส่งตัวไปพักยังโรงแรม ซึ่งผู้ป่วยที่เข้าพักใน Hopitel จะต้องมีความสามารถในการดูแลตัวเองและตกลงที่จะอยู่ที่โรงแรมหลังจากวันที่ออกจากโรงพยาบาลไปจนครบกำหนด 10 หรือ 14 วันเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการแพร่เชื้อและเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

วัตถุประสงค์ของ Hospitel

  1. Hospitel จะช่วยลดความแออัดของเตียงผู้ป่วย COVID-19 ในโรงพยาบาลหลัก
  2. ส่งเสริมการดูแล ผู้ป่วย COVID-19 อย่างต่อเนื่อง โดยเน้นผู้ป่วย กลุ่มที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการอาการน้อย ก่อนจำหน่ายกลับบ้านเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่าวย COVID-19 ในสถานการณ์การระบาดที่รุนแรง (การบริหารจัดการเตียง และการใช้ทรัพยากร โดยเฉพาะ PPE อย่างคุ้มค่า)
  3. ส่งเสริมความร่วมมือด้านสาธารณสุข เศรษฐกิจและสังคมระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและ ประชาสังคม รวมทั้งสร้างความมีส่วนร่วมของชุมชน

ผู้ป่วยที่จะรับการรักษาในหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ (Hospitel)

Hospitel จะมีการดูแลภายใต้มาตรฐานและการกำกับของโรงพยาบาล สำหรับกลุ่มผู้ป่วย COVID-19 ที่จะรับการรักษาในหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ (Hospitel) จะต้องอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด ดังนี้

  1. ผู้ป่วยยืนยันที่ไม่มีอาการ หลังนอนโรงพยาบาล 4-7 วัน เมื่อไม่มีภาวะแทรกซ้อนให้พักต่อที่ Hospitel จนครบ 10 วัน (และครบ14 วันในกรณีสงสัยเชื้อกลายพันธุ์)
  2. ผู้ป่วยยืนยันที่มีอาการ ไม่มีภาวะเสี่ยง/ภาวะร่วม หลังนอนโรงพยาบาล 4-7 วันเมื่ออาการดีขึ้นให้พักต่อที่ Hospitel จนครบ 10 วัน (และ14 วันในกรณีสงสัยเชื้อกลายพันธุ์)
  3. ป่วยยืนยันโควิดที่มีอายุน้อยกว่า 50 ปี ที่ไม่มีอาการ หรือ ไม่มีภาวะเสี่ยง/ภาวะอื่นร่วม เข้าพัก รักษา สังเกตอาการที่ Hospitel จนครบ 10 วัน (และ 14 วันในกรณีสงสัยเชื้อกลายพันธุ์)
  4. ทั้งนี้ผู้ป่วยที่ข้ารับการรักษา ในหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ แนะนําให้ เอกซเรย์ปอดทุกราย หากปอดผิดปกติควรอยู่โรงพยาบาล

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำคําแนะนําเกี่ยวกับการจัดตั้งหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ (Hospitel) ฉบับวันที่ 9 เมษายน 2021 ได้มีการพูดถึง Hospitel ดังนี้

“การพัฒนาหอผู้ป่วยเฉพาะกิจนอกสถานพยาบาล เปรียบเสมือนการขยายพื้นที่การรักษาดูแลผู้ป่วย หรือ เพิ่มจํานวนเตียงรักษาพยาบาลอย่างรวดเร็วในเวลาจํากัด เพื่อให้ผู้ป่วยโรคระบาดที่สามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ อาการไม่รุนแรง ไม่จําเป็นต้องอาศัยเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ครุภัณฑ์การแพทย์ที่ซับซ้อน แต่ยังอยู่ในระยะการ แพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่นได้ สามารถรับการดูแลติดตามโดยทีมบุคลากรทางการแพทย์ และป้องกันไม่ให้กลับไปแพร่กระจายเชื้อในชุมชน”

ขอบคุณข้อมูลจาก
thaiontours.com
Background vector created by upklyak – www.freepik.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *