วัคซีนโควิด-19-ใครบ้างที่ไม่ควรฉีด

วัคซีนโควิด-19 ใครบ้างที่ไม่ควรฉีด

ข่าวคราวเรื่องวัคซีนโควิด-19 ที่จะพูดถึงเลยก็ไม่ได้ เพราะมีกระแสต่าง ๆ ออกมามากมายว่าจะฉีดดี หรือไม่ฉีดดี เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน เราจึงได้มาตอบคำถาม วัคซีนโควิด-19 ใครบ้างที่ไม่ควรฉีด และข้อสงสัยเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ไว้ดังนี้ เพื่อประกอบการตัดสินใจของผู้ที่จะเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ว่าเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 หรือไม่

การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสนี้ขึ้นมา ช่วยป้องกันการติดเชื้อหากได้รับเชื้อในอนาคต แต่ต้องใช้เวลาระยะหนึ่งหลังฉีดวัคซีน ร่างกายจึงจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาได้ อย่างไรก็ตาม ควรต้องทำคู่ไปกับการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 อย่างเคร่งครัด เช่น ใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ เว้นระยะห่างทางสังคม เป็นต้น

พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ หัวหน้าสาขาวิชาโรคติดเชื้อ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ผู้เชี่ยวชาญด้านวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของประเทศไทย ให้ข้อมูลสำหรับผู้ที่อยากฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แต่มีความกังวลเพราะมีโรคประจำตัว ว่าโรคและอาการใดบ้างที่ยังไม่ควรฉีดวัคซีน โดยแบ่งเป็นการกลุ่มดังนี้

กลุ่มคนที่ไม่ควรฉีดวัคซีโควิด-19

กลุ่มคนที่ไม่ควรฉีดวัคซีโควิด-19 กลุ่มที่ 1
กลุ่มที่มีโรคประจำตัว สามารถฉีดวัคซีนได้ หากกำลังเจ็บป่วยหรือโรคประจำตัวกำเริบสามารถฉีดวัคซีนได้เมื่ออาการหายแล้ว

กลุ่มคนที่ไม่ควรฉีดวัคซีโควิด-19 กลุ่มที่ 2
กลุ่มมีโรคเรื้อรังที่ยังควบคุมไม่ได้ และอาการไม่คงที่ให้ปรึกษาแพทย์ก่อน ได้แก่ โรคหลอดเลือด โรคหัวใจ โดยสองโรคนี้หากอาการสงบหรือคงที่สามารถฉีดวัคซีนได้ ส่วนโรคระบบประสาท ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ใช้ยากดภูมิคุ้มกัน คีโม อาจต้องหยุดยาบางตัวก่อนหรือหลังฉีด

กลุ่มคนที่ไม่ควรฉีดวัคซีโควิด-19 กลุ่มที่ 3
หญิงตั้งครรภ์ช่วง 12 สัปดาห์แรก ไม่ควรฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แต่หากตั้งครรภ์หลัง 12 สัปดาห์ไปแล้วสามารถฉีดวัคซีนได้ ที่สำคัญหลังการฉีดวัคซีนสามารถให้นมบุตรได้ตามปกติ

กลุ่มคนที่ไม่ควรฉีดวัคซีโควิด-19 แยกเป็นข้อดังนี้

  1. เคยมีประวัติแพ้วัคซีน หรือแพ้ยา หรือส่วนประกอบของวัคซีนอย่างรุนแรง
  2. เคยได้รับการถ่ายเลือด พลาสม่า ผลิตภัณฑ์จากเลือด ส่วนประกอบของเลือดอิมมูโนโกลบูลิน ยาต้านไวรัส หรือแอนติยอดี้สำหรับรักษา COVID-19
  3. ตรวจพบเชื้อ COVID-19 ในช่วง 10 วันที่ผ่านมา
  4. มีโรคประจำตัวที่อาการยังไม่คงที่ ไม่สามารถควบคุมอาการของโรคได้ เช่น อาการเจ็บหน้าอก หอบ เหนื่อย ใจสั่น เป็นต้น
  5. มีอาการเกี่ยวกับสมอง หรือระบบประสาทอื่นๆ
  6. อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร หรือวางแผนที่จะตั้งครรภ์
  7. มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือได้รับยากดภูมิคุ่มกัน
  8. มีภาวะเลือดออกง่ายหรือเลือดหยุดยาก เกล็ดเลือดต่ำ การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ หรือได้รับยาต้ายการแข็งตัวของเลือด
  9. มีอาการเจ็บป่วยเฉียบพลัน หรือนอนรักษาตัว และออกจากโรงพยาบาลไม่เกิน 14 วัน
  10. กำลังมีอาการป่วย เช่นมีไข้ หนาวสั่น หายใจลำบาก อ่อนเพลียกล้ามเนื้อ เป็นต้น

เมื่อคุณไม่มีอาการดังกล่าวข้างต้นควรเข้ารับวัคซีนโควิด-19 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง แต่หากคุณมีอาการดังกล่าวข้อใดข้อหนึ่ง ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ทันที! หากไม่แจ้งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายของคุณเองได้

ขอบคุณข้อมูลจาก
thestandard.co
CGH Hospital
Medical photo created by rawpixel.com – www.freepik.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *