วันสตรีสากล หรือ International Women’s Day ในวันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี ถือว่ามีความสำคัญกับผู้หญิงทั้งโลกเป็นอย่างมาก ซึ่งวันสตรีสากลมีความสำคัญอย่างไร medtua.com จะมาเล่าให้ฟัง
วันสตรีสากล หรือ International Women’s Day คือวันอะไร
วันสตรีสากลหมายถึง “สิทธิสหประชาชาติผู้หญิงและสันติภาพนานาชาติ โดยกำหนดให้ 8 มีนาคม เป็นวันสตรีสากล เพื่อให้ผู้หญิงมีความ “ความเท่าเทียมทางเพศ” การพัฒนาได้สร้างคุณูปการอันยิ่งใหญ่และการเสียสละซึ่งก่อให้เกิด “สหพันธ์สตรี” พรรคและรัฐบาลรักษาจะรักษาผลประโยชน์ที่ถูกต้องตามกฎหมายของคนส่วนใหญ่
วันสตรีสากลในประเทศไทย
เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการใช้การควบคุมทรัพยากร เพื่อไม่ให้เกิดการกีดกันต่าง ๆ เจตนารมณ์ให้มีความเป็นธรรมเกิดขึ้นในความสัมพันธ์ระหว่างหญิงชายในทุกรูปแบบ และให้สตรีได้มีโอกาสรับประโยชน์จากการพัฒนาอย่างเท่าเทียม ซึ่งประเทศไทยในฐานะประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะปฏิบัติตามพันธสัญญาต่อเวทีโลกที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับบทบาทและสถานภาพสตรี โดยได้มีการดำเนินการทั้งในแง่กฎหมาย นโยบาย มาตรการและกิจกรรมต่าง ๆ ในการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย
วันสตรีสากลของต่างประเทศ
กลุ่มสตรีจากทุกทวีปไม่ว่าจะแตกต่างกันโดยเชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม เศรษฐกิจ หรือ การเมืองก็ตาม ได้รวมตัวกันเพื่อฉลองวันสำคัญนี้ เพื่อรำลึกถึงความเป็นมาแห่งการต่อสู้อันยาวนาน เพื่อให้ได้มาซึ่งความเสมอภาคความยุติธรรม สันติภาพและการพัฒนา ซึ่งวันสตรีสากล ไม่ได้เป็นเพียงวันที่กลุ่มสตรีทั่วโลกร่วมฉลองกันเท่านั้น แต่เป็นวันที่องค์กรสหประชาชาติได้ร่วมเฉลิมฉลองด้วย และอีกหลายประเทศได้กำหนดให้วันที่ 8 มีนาคมของทุกปี เป็นวันหยุดประจำชาติของตน อีกด้วย
แต่ในบางประเทศ อาจจะแตกต่างกันไป ซึ่งเหตุเริ่มจากวันที่กรรมกรสตรีโรงงานทอผ้าในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ลุกฮือขึ้นเดินขบวนประท้วงการเอาเปรียบกดขี่ขูดรีด ทารุณ จากนายจ้างที่เห็นผลผลิตสำคัญกว่าชีวิต ทำให้ตัวแทนสตรีจาก 17 ประเทศ ได้เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยมครั้งที่ 2 และประกาศให้วันที่ 8 มีนาคมของทุกปีเป็น “วันสตรีสากล”
ประวัติความเป็นมา วันสตรีสากล หรือ International Women’s Day 8 มีนาคม
ณ เมืองชิคาโก สหรัฐอเมริกา กรรมกรสตรีในโรงงานทอผ้าได้ลุกฮือขึ้นเดินขบวนประท้วงการเอาเปรียบ กดขี่ ขูดรีด ทารุณ จากนายจ้างที่เห็นผลผลิตสำคัญกว่าชีวิตคน ความเป็นอยู่ของแรงงานสตรีในเมืองชิคาโก ว่ากันว่าไม่ต่างอะไรจากทาสนิโกรในเงื้อมมือคนผิวขาว เพราะต้องทำงานวันละ 12-15 ชั่วโมง แต่ได้รับค่าแรงานเพียงน้อยนิดส่วนสตรีตั้งครรภ์มักถูกไล่ออก
ในที่สุดภายใต้การนำของ คลาร่า เซทคิน ผู้นำกรรมกรสตรีโรงงานทอผ้าชาวเยอรมันลุกฮือขึ้นสู้ด้วยการเดินขบวนนัดหยุดงานในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1907 โดยเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงานจากวันละ 12-15 ชั่วโมง ให้เหลือวันละ 8 ชัวโมง พร้อมให้ปรับปรุงสวัสดิการภายในโรงงาน และให้สตรีมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งด้วย
การเรียกร้องครั้งนี้ แม้จะมีหลายร้อยคนถูกจับกุม แต่ก็ได้รับการสนับสนุนจากสตรีทั้งโลก และส่งผลให้วิถีการผลิตแบบทุนนิยมเริ่มสั่นคลอน แต่อย่างไรก็ตามอีก 3 ปีต่อมา คือ ในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1910 ข้อเรียกร้องของเหล่าบรรดากรรมกรสตรีก็ประสบความสำเร็จ เมื่อตัวแทนสตรีจาก 18 ประเทศ เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยม ครั้งที่ 2 ณ เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ที่ประชุมได้ประกาศรับรองข้อเรียกร้องของบรรดากรรมกรสตรี
โดยให้ลดเวลาทำงานให้เหลือเพียงวันละ 8 ชั่วโมง ศึกษาหาความรู้ 8 ชั่วโมง พักผ่อน 8 ชั่วโมง และกำหนดให้ค่าแรงงานสตรีเท่าเทียมกับค่าแรงงานชาย อีกทั้งยังมีการคุ้มครองสวัสดิการสตรีและแรงงานเด็กอีกด้วย นอกจากนั้นในการประชุมครั้งนั้น ยังได้มีการรับรองข้อเสนอของ คลาร่า เซทคิน ด้วยการประกาศให้วันที่ 8 มีนาคม เป็น วันสตรีสากล
กิจกรรมวันสตรีสากล หรือ International Women’s Day 8 มีนาคม
วันสตรีสากล ซึ่งตรงกับวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี เป็นวันที่เหล่าสตรีจากทั่วโลก ไม่ว่าจะเชื้อชาติ ศาสนา อาชีพใด จะร่วมเฉลิมฉลองความเสมอภาคที่ได้รับมา และเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเท่าเทียมกันในสังคมอีกด้วย การจัดกิจกรรมงานวันสตรีสากล นั้น เพื่อเป็นการแสดงการให้เห็นถึงการต่อสู้อันยาวนาน กว่าจะได้อิสระ และความเท่าเทียมกับผู้ชาย
- จัดให้มีการประกาศเกียรติคุณ การจัดให้มีการประกาศเกียรติคุณแก่สตรีดีเด่นประจำปี เนื่องในวันสตรีสากล เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติ สตรีผู้สร้างประโยชน์ในสาขาอาชีพต่าง ๆ โดยผู้ที่เคยได้รับรางวัลดังกล่าว
- จัดนิทรรศการวันสตรีสากล การจัดนิทรรศการ เกี่ยวกับแรงงานสตรีในสมัยอดีต ว่ามีที่มาอย่างไร การถูกกดขี่ข่มเหงในเรื่อต่าง ๆ ทั้งเรื่องงาน และอารมณ์ทางเพศ ที่ผู้ชายทักจะใช้เป็นที่ระบายอารมณ์
- ให้ความรู้เรื่องเกี่ยวกับสิทธิสตรี นอกจากการจัดนิทรรศการแล้ว อาจจะมีการแนะแนว ในเรื่องของการกดขี่ทางเพศ การทำร้ายร่างกายผู้หญิง การให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิสตรี อาจจะเป็นการร่วมมือของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ซึ่งหากมีเหตุการณ์ใด ๆ อันจะก่อให้เกิดความรุนแรงได้ ควรจะต้องหาทางแก้ไขเบื้องต้นอย่างไร ซึ่งการที่ผู้หญิงมีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างมาก
จะเห็นได้ว่าโลกในยุคใหม่นี้ แต่ละแห่งให้ความสำคัญและยอมรับผู้หญิงมากขึ้น การถือกำเนิดของวันสตรีสากลนี้ เป็นเสมือนจุดเริ่มต้นในการขจัดการแบ่งแยกและการเหยียดเพศให้หมด ทำให้ผู้หญิงในปัจจุบันมีบทบาทอย่างแพร่หลายต่อการขับเคลื่อนของสังคม ดังนั้น “วันสตรีสากล” จึงเป็นอีกวันหนึ่งที่เปิดโอกาสให้ผู้หญิงทุกคนได้แสดงความสามารถ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความทัดเทียมกันได้อย่างดี
ขอบคุณข้อมูลจาก
myhora.com
sanook.com
Woman vector created by freepik – www.freepik.com