พระประจำวันเกิด-ไหว้เสริมดวงพร้อมบทสวด

พระประจำวันเกิด ไหว้เสริมดวงพร้อมบทสวด

หลายคนอาจสงสัยว่า พระประจำวันเกิด ของแต่ละวันคือพระปางไหน และมีวิธีการไว้เพื่อเสริมดวงอย่างไรให้ชีวิตร่มเย็นเป็นสุขไร้อุปสรรค สำหรับพระพุทธรูปประจำวันเกิดจะมีทั้งหมด 8 ปาง ตามวันในสัปดาห์ คือ

พระประจำวันเกิดวันอาทิตย์, พระประจำวันเกิดวันจันทร์, พระประจำวันเกิดวันอังคาร, พระประจำวันเกิดวันพุธ (กลางวัน), พระประจำวันเกิดวันพุธ (กลางคืน), พระประจำวันเกิดวันพฤหัสบดี, พระประจำวันเกิดวันศุกร์ และพระประจำวันเกิดเสาร์ และเพิ่มปาง พระประจำวันเกิดวันพุธกลางคืน ที่เรียกว่าวันราหูเข้าไปด้วย

บางท่านที่เป็นพุทธศาสนิกชนคนไทยอาจจะทราบอยู่แล้วว่า “พระประจำวันเกิด” ของตนเองคือพระพุทธรูปปางไหน ในบทความนี้จึงรวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับที่มาที่ไป หรือบทสวดบูชาพระประจำวันเกิดในแต่ละปางมาฝากกัน

พระประจำวันเกิดวันอาทิตย์
พระประจำวันเกิดวันอาทิตย์

พระประจำวันเกิดวันอาทิตย์

พระประจำวันอาทิตย์ คือ ปางถวายเนตร โดยพระประจำวันนี้ จะมีลักษณะเด่น คือเป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน ลืมพระเนตรทั้งสอง เพ่งไปข้างหน้าพระหัตถ์ทั้งสองห้อยลงมาประสานกันอยู่ระหว่างพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาซ้อนเหลื่อมพระหัตถ์ซ้ายอยู่ในพระอาการสังวรทอดพระเนตรดูต้นพระศรีมหาโพธิ์

ความเป็นมาของ พระประจำวันเกิดวันอาทิตย์

เมื่อครั้งพระบรมศาสดาได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ก็ได้ประทับเสวยวิมุตติสุข (สุขอันเกิดจากความสงบ) อยู่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์เป็นระยะเวลา 7 วัน จากนั้นได้เสด็จไปประทับยืน ณ ที่กลางแจ้งทางทิศอีสานของต้นพระศรีมหาโพธิ์ ทอดพระเนตรต้นพระศรีมหาโพธิ์โดยไม่กระพริบพระเนตรเลยตลอดระยะเวลา 7 วัน ซึ่งสถานที่ประทับยืนนี้ได้มีนามปรากฏว่า “อนิมิสเจดีย์” มาจนปัจจุบัน เป็นเหตุแห่งการสร้างพระพุทธรูปปางนี้เรียกว่า ปางถวายเนตร นิยมสร้างเป็นพระพุทธรูปเพื่อสักการะบูชาประจำของคนเกิดวันอาทิตย์

บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันอาทิตย์

อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ
ปะฐะวิปปะภาโส ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง
ปะฐะวิปปะภาสัง ตะยัชชะคุตตา วิหะเรมุ
ทิวะสัง เย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะ ธัมเม,
เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ
นะมัตถุ พึทธานัง นะมัตถุ โพธิยา,
นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา
อิมังโส ปะริตตัง กัตวา โมโร จะระติ เอสะนา

สวดวันละ 6 จบ จะมีความรุ่งเรืองและความสุขสวัสดีตลอดกาล และผู้ที่เกิดวันอาทิตย์พึงใช้สีที่เป็นมงคล สำหรับเครื่องนุ่งห่ม ประจำบ้านเรือน หรือเครื่องประดับควรเป็นของที่มีสีแดง จะเป็นสิริมงคลลาภผล ดียิ่งนัก ส่วนสีรอง ๆ ลงไป มีสีม่วง สีเขียว สีเทา สีเมฆหมอก สีดอกรัก พึงเว้น สีน้ำเงิน

พระประจำวันเกิดวันจันทร์
พระประจำวันเกิดวันจันทร์

 

พระประจำวันเกิดวันจันทร์

พระประจำวันจันทร์ ได้แก่ ปางห้ามญาติ หรือ ห้ามสมุทร ซึ่งพระวันจันทร์เราจะได้ยินชื่อของท่านเป็นประจำ เพราะมีลักษณะพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน ยกพระหัตถ์ทั้งสองขึ้นเสมอพระอุระ (อก) ตั้งฝ่าพระหัตถ์ยื่นออกไปข้างหน้าเป็นกิริยาห้ามเป็นปางเดียวกันกับปางห้ามสมุทร ต่างกันตรงที่ปางห้ามญาติจะยกมือขวาขึ้นห้ามเพียงมือเดียว ส่วนปางห้ามสมุทรจะยกมือทั้งสองขึ้นห้ามแต่ส่วนใหญ่มักจะนิยมสร้างเป็นปางห้ามญาติ และนิยมทำเป็นแบบพระทรงเครื่อง

ความเป็นมาของ พระประจำวันเกิดวันจันทร์

ปางห้ามญาติเกิดขึ้นเนื่องจากพระญาติฝ่ายพุทธบิดาคือกรุงกบิลพัสดุ์ และพระญาติฝ่ายพุทธมารดา คือ กรุงเทวทหะ ซึ่งอาศัยอยู่บนคนละฝั่งของแม่น้ำโรหิณี เกิดทะเลาะวิวาทแย่งน้ำเพื่อไปเพาะปลูกกันขึ้น ถึงขนาดจะยกทัพทำสงครามกันเลยทีเดียว พระพุทธองค์จึงต้องเสด็จไปเจรจาห้ามทัพ คือ ห้ามพระญาติมิให้ฆ่าฟันกัน

ส่วนปางห้ามสมุทรเป็นพุทธประวัติ ตอนเสด็จไปโปรดพวกชฎิล (นักบวชประเภทหนึ่งที่นุ่งห่มหนังเสือ และนิยมบูชาไฟ) 3 พี่น้องได้แก่ อุรุเวลกัสสปะ นทีกัสสปะ และคยากัสสปะ ที่ตั้งตัวเป็นใหญ่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราพร้อมบริวาร 1,000 คน โดยได้แสดงพุทธปาฏิหารย์หลายอย่างเพื่อทำลายทิฎฐิมานะของชฎิลทั้งหลาย

เช่น ห้ามลม ห้ามฝน ห้ามพายุ และห้ามน้ำท่วมที่เจิ่งนองตลิ่งมิให้มาต้องพระวรกายได้ อีกทั้งยังสามารถเดินจงกรมอยู่ใต้พื้นน้ำได้ ทำให้พวกชฎิลเห็นเป็นที่อัศจรรย์ และยอมบวชเป็นพุทธสาวก “อนิมิสเจดีย์” มาจนปัจจุบัน เป็นเหตุแห่งการสร้างพระพุทธรูปปางนี้เรียกว่า ปางถวายเนตร นิยมสร้างเป็นพระพุทธรูปเพื่อสักการะบูชาประจำของคนเกิดวันอาทิตย์

บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันจันทร์

ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะโย จามะนาโป
สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง
อะกันตัง พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ

ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะโย จามะนาโป
สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง
อะกันตัง ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ

ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะโย จามะนาโป
สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง
อะกันตัง สังฆานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ

สวดวันละ 15 จบ จะมีความสุข ความเจริญปราศจากโรคาพยาธิทั้งปวง และผู้ที่เกิดวันจันทร์ควรใช้ของประดับตัวและบ้านเรือนเป็นสีขาว เหลืองอ่อน ๆ เป็นดีที่สุด ส่วนสีรอง ๆ ลงมา คือสีเขียว สีดำ สีกรมท่า สีน้ำเงิน พึงเว้นสีแดง

พระประจำวันเกิดวันอังคาร
พระประจำวันเกิดวันอังคาร

 

พระประจำวันเกิดวันอังคาร

พระประจำวันอังคาร คือ พระพุทธรูปปางไสยาสน์ หรือ พระพุทธรูปปางโปรดอสุรินทราหู ซึ่งไสยาสน์ในที่นี้ ไม่ใช่การเล่นของแต่อย่างใด แต่เป็นชื่อเรียกของพระประจำวันอังคารเพียงเท่านั้น โดยพระพุทธรูปปางไสยาสน์ จะมีลักษณะพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถนอนตะแคงขวา พระบาททั้งสองข้างซ้อนทับเสมอกัน พระหัตถ์ซ้ายทาบไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวาตั้งขึ้นรับพระเศียรและมีพระเขนย (หมอน) รองรับ บางแบบพระเขนยวางอยู่ใต้พระกัจฉะ (รักแร้)

ความเป็นมาของ พระประจำวันเกิดวันอังคาร

ปางห้ามญาติเกิดขึ้นเนื่องจากพระญาติฝ่ายพุทธบิดาคือกรุงกบิลพัสดุ์ และพระญาติฝ่ายพุทธมารดา คือ กรุงเทวทหะ ซึ่งอาศัยอยู่บนคนละฝั่งของแม่น้ำโรหิณี เกิดทะเลาะวิวาทแย่งน้ำเพื่อไปเพาะปลูกกันขึ้น ถึงขนาดจะยกทัพทำสงครามกันเลยทีเดียว พระพุทธองค์จึงต้องเสด็จไปเจรจาห้ามทัพ คือ ห้ามพระญาติมิให้ฆ่าฟันกัน

ส่วนปางห้ามสมุทรเป็นพุทธประวัติ ตอนเสด็จไปโปรดพวกชฎิล (นักบวชประเภทหนึ่งที่นุ่งห่มหนังเสือ และนิยมบูชาไฟ) 3 พี่น้องได้แก่ อุรุเวลกัสสปะ นทีกัสสปะ และคยากัสสปะ ที่ตั้งตัวเป็นใหญ่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราพร้อมบริวาร 1,000 คน โดยได้แสดงพุทธปาฏิหารย์หลายอย่างเพื่อทำลายทิฎฐิมานะของชฎิลทั้งหลาย

เช่น ห้ามลม ห้ามฝน ห้ามพายุ และห้ามน้ำท่วมที่เจิ่งนองตลิ่งมิให้มาต้องพระวรกายได้ อีกทั้งยังสามารถเดินจงกรมอยู่ใต้พื้นน้ำได้ ทำให้พวกชฎิลเห็นเป็นที่อัศจรรย์ และยอมบวชเป็นพุทธสาวก “อนิมิสเจดีย์” มาจนปัจจุบัน เป็นเหตุแห่งการสร้างพระพุทธรูปปางนี้เรียกว่า ปางถวายเนตร นิยมสร้างเป็นพระพุทธรูปเพื่อสักการะบูชาประจำของคนเกิดวันอาทิตย์

บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันอังคาร

ยัสสานุสสะระเณนาปิ อันตะลิก เขปิ ปาณิโน
ปะติฏฐะมะธิ คัจฉันติ ภูมิยัง วิยะ สัพพะทา
สัพพูปัททะวะชาลัมหา ยักขะโจราทิ สัมภะวา
คะณะนานะ จะ มุตตานัง ปะริตตันตัมภะณามะ เห

สวดวันละ 8 จบ จะเกิดผลดี และผู้ที่เกิดวันอังคาร ควรใช้ของประดับตัวและบ้านเรือนเป็นสีชมพู หรือ สีแดงหลัว ส่วนสีรอง ๆ ลงมาคือ สีดำ สีกรมท่า สีน้ำเงินแก่ สีเหลือง สีแดง พึงเว้นสีขาวนวล

พระประจำวันเกิดวันพุธ-กลางวัน
พระประจำวันเกิดวันพุธ (กลางวัน)

พระประจำวันเกิดวันพุธ (กลางวัน)

สำหรับพระประจำวันเกิดวันพุธนั้น จะต่างจากวันอื่น ๆ ออกไป เพราะเป็นวันที่ มีพระประจำวันเกิด ถึง 2 องค์ มีทั้งประจำวันพุธในเวลากลางวัน และพระประจำวันพุธในเวลากลางคืน ซึ่งทั้ง 2 รูป จะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปอีกด้วย

พระประจำวันเกิดวันพุธ (กลางวัน) คือ ปางอุ้มบาตร โดยลักษณะแล้ว จะเป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประคองบาตรราวสะเอว

ความเป็นมาของ พระประจำวันเกิดวันพุธ (กลางวัน)

เมื่อพระพุทธเจ้าได้สำแดงอิทธิปาฏิหารย์ เหาะขึ้นไปในอากาศต่อหน้าพระประยูรญาติทั้งหลาย เพื่อให้พระญาติผู้ใหญ่ได้เห็น และละทิฐิถวายบังคมแล้ว จึงได้ตรัสเทศนาเรื่องพระมหาเวสสันดรชาดก ครั้นแล้วพระญาติทั้งหลายก็แยกย้ายกันกลับโดยไม่มีใครทูลอาราธนาฉันพระกระยาหารเช้าในวันรุ่งขึ้น

ด้วยเข้าใจผิดคิดว่าพระองค์เป็นราชโอรสและพระสงฆ์ก็เป็นศิษย์ คงต้องฉันภัตตาหารที่จัดเตรียมไว้ในพระราชนิเวศน์เอง แต่พระพุทธองค์กลับพาพระภิกษุสงฆ์สาวกเสด็จจาริกไปตามถนนหลวงในเมือง เพื่อโปรดเวไนยสัตว์ (ผู้ที่พึงสั่งสอนได้)อันเป็นกิจของสงฆ์

และนับเป็นครั้งแรกที่ชาวเมืองกบิลพัสดุ์ได้มีโอกาสชมพระพุทธจริยาวัตรขณะทรงอุ้มบาตรโปรดสัตว์ ประชาชนจึงต่างแซ่ซ้องอภิวาทอย่างสุดซึ้ง แต่ปรากฏว่าพระเจ้าสุทโธทนะ พุทธบิดาทรงทราบเข้า ก็เข้าใจผิดและโกรธพระพุทธองค์ หาว่าออกไปขอทานชาวบ้าน ไม่ฉันภัตตาหารที่เตรียมไว้

พระพุทธเจ้าจึงต้องทรงอธิบายว่า การออกบิณฑบาตรเป็นการไปโปรดสัตว์ มิใช่การขอทาน จึงเป็นที่เข้าใจกันในที่สุด

บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันพุธ (กลางวัน)

สัพพาสีวิสะชาตีนัง ทิพพะมันตาคะทัง วิยะ ยันนาเสติ
วิสังโฆรัง เสสัญจาปิ ปะริสสะยัง อาณักเขตตัมหิ สัพพัตถะ
สัพพะทา สัพพะปาณินัง สัพพะโสปิ นิวาเรติ
ปะริตตันตัมภะณามะเห

สวดวันละ 17 จบ จะมีความสุขสวัสดียิ่ง ๆ ขึ้นไป และผู้ที่เกิดวันพุธ (กลางวัน) ควรใช้ของประดับตัวและบ้านเรืออนเป็นสีเขียว หรือสีเขียวใบไม้ ส่วนสีรอง ๆ ลงมา คือ สีเหลือง สีเทา สีดอกรัก สีเมฆหมอก สีขาวนวล พึงเว้น สีม่วง

พระประจำวันเกิดวันพุธ-กลางคืน
พระประจำวันเกิดวันพุธ (กลางคืน)

พระประจำวันเกิดวันพุธ (กลางคืน)

สำหรับพระประจำวันเกิดวันพุธ (กลางคืน) คือ ปางป่าเลไลยก์ จะเป็นพระประจำวันพุธของผู้ที่เกิดระหว่างเวลา 18.00 น. ของวันพุธถึง 06.00 น. ของวันพฤหัสบดี หรือบางคนก็นับตั้งแต่ 18.00 – 24.00 น. ของวันพุธ ซึ่งนั่นก็แล้วแต่ความเชื่อของแต่ละบุคคล

และจะมีลักษณะเป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ (นั่ง) บนก้อนศิลาพระบาททั้งสองวางบนดอกบัว พระหัตถ์ซ้ายวางคว่ำบนพระขนุ (เข่า) พระหัตถ์ขวาวางหงายนิยมสร้างช้างหมอบใช้งวงจับกระบอกน้ำ อีกด้านหนึ่งมีลิงถือรวงผึ้งถวาย

ความเป็นมาของ พระประจำวันเกิดวันพุธ (กลางคืน)

สำหรับปางนี้กล่าวถึงเมื่อพระพุทธองค์ประทับอยู่ที่เมืองโกสัมพี ครั้นนั้นพระภิกษุมีมากรูปด้วยกัน และไม่สามัคคีปรองดอง ไม่อยู่ในพุทธโอวาท ประพฤติตามใจตัว พระองค์จึงเสด็จจาริกไปอยู่ตามลำพังพระองค์เดียวในป่าที่ชื่อว่าปาลิไลยกะ โดยมีมีพญาช้างเชือกหนึ่งชื่อ “ปาลิไลยกะ” เช่นเดียวกัน

มีความเลื่อมใสในพระพุทธองค์ มาคอยปฏิบัติบำรุงและคอยพิทักษ์รักษามิให้สัตว์ร้ายมากล้ำกราย ทำให้พระพุทธองค์เสด็จประทับอยู่ในป่านั้นด้วยความสงบสุข และป่านั้นต่อมาก็ได้ชื่อว่า “รักขิตวัน” ครั้นพญาลิงเห็นพญาช้างทำงานปรนนิบัติพระพุทธเจ้าด้วยความเคารพ ก็เกิดกุศลจิตทำตามอย่างบ้าง

ต่อมาชาวบ้านไปเฝ้าพระพุทธเจ้าแต่ไม่พบ และทราบเหตุ ก็พากันตำหนิติเตียน และไม่ทำบุญกับพระเหล่านั้น พระภิกษุเหล่านี้จึงได้สำนึก ขอให้พระอานนท์ไปทูลเชิญเสด็จพระพุทธองค์กลับมา ช้างปาลิไลยกะก็มาส่งเสด็จด้วยความเศร้าเสียใจ จนหัวใจวายล้มตายไป ด้วยกุศลผลบุญจึงได้ไปเกิดเป็น “ปาลิไลยกะเทพบุตร”

จากเหตุการณ์นี้ ถือว่าเป็นเหตุการณ์อันน่าสลดใจเป็นอย่างยิ่ง ถึงพฤติกรรมของพระ 2 ฝ่ายในขณะนั้น ไม่เชื่อฟังแม้กระทั้งพระพุทธเจ้า พุทธศาสนิกชนจึงได้สร้างพระปางนี้ขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์เตือนใจถึงการแตกสามัคคี การทะเลาะวิวาทกัน

บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันพุธ (กลางคืน)

กินนุ สันตะระมาโนวะ ราหุ จันทัง ปะมุญจะสิ
สังวิคคะรูโป อาคัมมะ กินนุ ภีโต ติฏฐะสีติ
สัตตะธา เม ผะเล มุทธา ชีวันโต นะ สุขัง ละเภ
พุทธาคาถาภิคิโตมหิ โนเจ มุญเจยะ จันทิมันติ

ดูก่อนราหู เพราะเหตุใดหนอ ท่านจึงเร่งรีบปล่อยพระอาทิตย์ไปเสียเล่า และทำไมหนอ ท่านจึงดูเศร้าสลด มายืนซึมอยู่ตรงนี้เล่า ข้าพเจ้าถูกขับด้วยคาถาของพระพุทธเจ้า ดังนั้น หากข้าพเจ้าไม่ปล่อยสุริยเทพบุตร ศีรษะของข้าพเจ้าพึงแตกเจ็ดเสี่ยง ถึงมีชีวิตอยู่ต่อไป ก็จะไม่ได้รับความสุขเลย

สวดวันละ 12 จบ จะมีความเจริญสุขสวัสดี ผู้ที่เกิดวันราหู หรือวันพุธกลางคืน ควรใช้ของประดับตัวและบ้านเรือนเป็นสีเมฆหมอก สีเทา หรือสีดำหลัว ส่วนสีรอง ๆ ลงมา คือ สีแดง สีขาวนวล สีกรมท่า สีน้ำเงินแก่ พึงเว้นสีเหลือง

พระประจำวันเกิดวันพฤหัสบดี
พระประจำวันเกิดวันพฤหัสบดี

พระประจำวันเกิดวันพฤหัสบดี

พระประจำวันพฤหัสบดี คือ ปางสมาธิ หรือปางตรัสรู้ โดยจะมีลักษณะของพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิพระหัตถ์ทั้งสองวางหงายซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้ายพระชงฆ์ (แข้ง) ขวาทับพระชงฆ์ซ้าย คล้ายกับคนที่นั่งสมาธิที่เรานั่งกันเป็นประจำ

ความเป็นมาของ พระประจำวันเกิดวันพฤหัสบดี

ปางตรัสรู้ คือ ปางที่เจ้าชายสิทธัตถะหรือพระโพธิสัตว์ทรงประทับขัดสมาธิบนบัลลังก์หญ้าคาใต้ต้นมหาโพธิ์ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา และได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ซึ่งก็ตรงกับวันวิสาขบูชานั่นเอง

บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันพฤหัสบดี

อัตถิโลเก สีละคุโณ สัจจังโสเจยยะ นุททะยา เตนะ สัจเจนะ
กาหามิ สัจจะกิริยะมะนุตตะรัง อาวัชชิตวา ธัมมัพะลัง สะริตวา
ปุพพะเก ชิเน สัจจะพะละมะสายะ สัจจะกิริยะมะกาสะหัง
สันติ ปักขา อะปัตตะนา สันติ ปาทา อะวัญจะนา มาตาปิตา
จะนิกขันตา ชาตะเวทะ ปฏิกกะมะ สะหะ สัจเจกะเต มัยหัง
มะหาปัชชะลิโต สิขี วัชเชสิ โสฬะสะ กะรีสานิ อุทะกัง ปัตวา
ยะถา สิขี สัจเจนะ เม สะโม นัตถิ เอสา เม สัจจะปาระมีติ

สวดวันละ 19 จบ จะมีความสุขความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป และผู้ที่เกิดวันพฤหัสบดี พึงใช้เครื่องประดับและบ้านเรือนเป็นสีเหลืองหรือสีไพล ส่วนสีรองลงมาคือ สีน้ำเงิน สีแดง สีเขียว พึงเว้น สีดำ สีกรมท่า และสีน้ำเงินแก่

พระประจำวันเกิดวันศุกร์
พระประจำวันเกิดวันศุกร์

พระประจำวันเกิดวันศุกร์

พระประจำวันศุกร์ คือ ปางรำพึง จะมีลักษณะของพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประสานกันยกขึ้นประทับที่พระอุระ (อก) พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย ซึ่งท่าทางของท่านนั้น สื่อถึงการรำพึงรำพันอย่างแท้จริง

ความเป็นมาของ พระประจำวันเกิดวันศุกร์

ภายหลังจากที่ตรัสรู้ได้ไม่นาน พระพุทธเจ้าซึ่งประทับอยู่ภายใต้ต้นไทร (อชปาลนโครธ) ก็ได้ทรงรำพึงพิจารณาถึงธรรมที่ตรัสรู้ว่าเป็นธรรมที่มีความละเอียดลึกซึ้ง ยากที่มนุษย์ปุถุชนจะรู้ตามได้ จึงเกิดความท้อพระทัยที่จะไม่สั่งสอนชาวโลก ด้วยรำพึงว่าจะมีใครสักกี่คนที่ฟังธรรมะของพระองค์เข้าใจ

ร้อนถึงท้าวสหัมบดีพรหมได้มากราบทูลอาราธนาเพื่อทรงแสดงธรรมว่าในโลกนี้บุคคลที่มีกิเลสเบาบางพอฟังธรรมได้ยังมีอยู่ พระพุทธองค์ได้ทรงพิจารณาแล้วก็เห็นชอบด้วย อีกทั้งทรงรำพึงถึงธรรมเนียมของพระพุทธเจ้าทั้งหลายแต่ปางก่อน ว่าตรัสรู้แล้วก็ย่อมแสดงธรรมโปรดสัตว์โลกเพื่อประโยชน์สุขแก่ชนทั้งปวง

จึงได้น้อมพระทัยในอันที่จะแสดงธรรมต่อชาวโลกตามคำอาราธนานั้น และตั้งพุทธปณิธานจะใคร่ดำรงพระชนม์อยู่จนกว่าจะได้ประกาศพระพุทธศาสนา ให้แพร่หลายประดิษฐานให้มั่นคงสำเร็จประโยชน์แก่ชนนิกรทุกหมู่เหล่าต่อไป พระพุทธจริยาที่ทรงรำพึงถึงธรรมที่จะแสดงโปรดชนนิกรผู้เป็นเวไนยบุคคลนั้นแล เป็นเหตุให้สร้างพระพุทธรูปที่เรียกว่า ปางรำพึง

บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันศุกร์

อัปปะสันเนติ นาถัสสะ สาสะเน สาธุสัมมะเต
อะมะนุสเสหิ สะทา กิพพิสะการิภิ
ปะริสานัญจะตัสสันนะ มะหิงสายะจะคุตติยา ยันเทเสสิ
มะหาวีโร ปะริตตันตัมภะณามะ เห

สวดวันละ 21 จบ จะมีความสุขสวัสดีตลอดกาลนาน และผู้ที่เกิดวันศุกร์ พึงใช้เครื่องประดับและบ้านเรือนเป็นสีฟ้าหรือสีน้ำเงินแก่ ส่วนสีรองลงมาคือ สขาวนวล สีม่วง สีเหลือง พึงเว้นสีเทา สีเมฆหมอก สีดอกรัก

พระประจำวันเกิดเสาร์
พระประจำวันเกิดวันเสาร์

พระประจำวันเกิดวันเสาร์

พระประจำวันเสาร์ คือ ปางนาคปรก หลายคนคงรู้จักนาคปรก จากภาพยนตร์ชื่อดังที่ได้ฉายในปี พ.ศ. 2553 แต่หลายคนอาจไม่รู้ว่า นาคปรก คือพระประจำวันเสาร์ ซึ่งจะมีลักษณะพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ หงายพระหัตถ์ทั้งสองวางซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาซ้อนทับพระหัตถ์ซ้ายเหมือนปางสมาธิ แต่มีพญานาคขนดร่างเป็นวงกลมเป็นพุทธบัลลังก์และแผ่พังพานปกคลุมอยู่เหนือพระเศียร

ความเป็นมาของ พระประจำวันเกิดวันเสาร์

เมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้ และประทับบำเพ็ญสมาบัติเสวยวิมุตติสุขอันเกิดจากความพ้นกิเลสอยู่ ณ อาณาบริเวณที่ไม่ไกลจากต้นพระศรีมหาโพธิ์แห่งละ 7 วันนั้น ในสัปดาห์ที่ 3 นี้เอง ก็ได้ไปประทับใต้ต้นมุจลินท์ (ต้นจิก) ขณะนั้นฝนได้ตกลงมาไม่หยุด

พญานาคตนหนึ่งชื่อ “มุจลินท์นาคราช” ก็ได้ขึ้นมาแสดงอิทธิฤทธิ์เข้าไปวงขนด 7 รอบ แล้วแผ่พังพานปกพระพุทธเจ้าไว้มิให้ฝนตกต้องพระวรกาย เหมือนกั้นเศวตฉัตรถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยความประสงค์มิให้ฝนและลมหนาวสาดต้องพระวรกาย

ทั้งป้องกันเหลือบ ยุง บุ้ง ร่าน ริ้น และสัตว์เลื้อยคลานทั้งมวลด้วย จนฝนหาย จึงได้แปลงร่างเป็นมาณพเข้าไปเฝ้าพระพุทธองค์

บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันเสาร์

ยะโตหัง ภะคินิ อะริยายะ ชาติยา ชาโต,
นาภิชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา
โวโรเปตาฯ เตนะ สัจเจนะ โสตถิ เต
โหตุ โสตถิ คัพภัสสะ

สวดวันละ 10 จบ จะมีความสุขความเจริญและเกิดความสวัสดีมีมงคลตลอดกาลนาน และผู้ที่เกิดวันเสาร์ พึงใช้เครื่องประดับและบ้านเรือนเป็นสีดำหลัว หรือสีม่วง ส่วนสีรอง ๆ ลงมา คือ สีเทา สีเมฆหมอก สีดอกรัก สีน้ำเงิน พึงเว้นสีเขียว

ขอบคุณข้อมูลจาก
thairath.co.th
hilight.kapook.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *